ในช่วงนี้ จากข่าวที่เสนอให้องค์กรธุรกิจและผู้ใช้ตามบ้านรีบอัพเกรดระบบ Windows XP ที่มีอยู่ให้เป็น Windows เวอร์ชั่นใหม่ ก่อน 8 เมษายน เพื่อความปลอดภัย คราวนี้มาในส่วนของธนาคารก็ต้องรีบอัพเกรดระบบด้วยเพราะ ตู้ ATM ของธนาคารส่วนใหญ่เป็น Windows XP มากถึงเกือบ 95 เปอร์เซ็นต์ ทำให้หลังวันที่ 8 เมษายนนี้ ตู้ ATM ส่วนใหญ่ตกอยู่ในความเสี่ยงจากภัยคอมพิวเตอร์
ทั้งนี้ธุรกิจธนาคารก็ต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่ร้ายแรงของการโจมตีทางไซเบอร์ที่พุ่งเป้าไปยังตู้ ATM ความเสี่ยงที่ว่านี้ไม่ได้เป็นเพียงข้อสันนิษฐานเท่านั้น แต่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริง โดยอาชญากรทางไซเบอร์กำลังมุ่งโจมตีตู้ ATM ด้วยเทคนิคที่ซับซ้อนมากขึ้น
ในช่วงปลายปี 2556 Symantec บริษัทด้านรักษาความปลอดภัยบนคอมพิวเตอร์ ได้เขียนบล็อกเกี่ยวกับมัลแวร์ชนิดใหม่ที่โจมตีระบบ ATM ในเม็กซิโก ซึ่งสามารถบังคับให้ตู้ ATM ปล่อยเงินสดออกมาได้ตามสั่งโดยใช้คีย์บอร์ดภายนอกในการควบคุม ภัยคุกคามดังกล่าวมีชื่อว่า Backdoor.Ploutus หลายสัปดาห์ต่อมา พบมัลแวร์รุ่นใหม่ที่แสดงให้เห็นว่ามัลแวร์ดังกล่าวได้พัฒนาไปสู่สถาปัตยกรรมแบบโมดูลาร์ นอกจากนี้ มัลแวร์รุ่นใหม่ยังแปลเป็นภาษาอังกฤษอีกด้วย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้สร้างมัลแวร์ได้ขยายขอบเขตไปสู่ประเทศอื่นๆ โดยมัลแวร์รุ่นใหม่นี้ใช้ชื่อว่า Backdoor.Ploutus.B (ในบล็อกนี้เรียกว่า Ploutus)
สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับ Ploutus รุ่นนี้ก็คือ มัลแวร์ดังกล่าวช่วยให้อาชญากรไซเบอร์สามารถส่งข้อความ SMS ไปยังตู้ ATM ที่ติดเชื้อ แล้วเดินไปที่ตู้เพื่อหยิบเงินสดที่ปล่อยออกมา หลายท่านอาจคิดว่าไม่น่าเชื่อ แต่เทคนิคกำลังถูกใช้งานในหลายๆ ที่ทั่วโลกในตอนนี้
Texting-ATM-malware-aรูปที่ 1. วิธีที่ผู้โจมตีถอนเงินสดจากตู้เอทีเอ็มโดยใช้โทรศัพท์
การเชื่อมต่อโทรศัพท์มือถือกับตู้ ATM
คนร้ายสามารถควบคุมตู้ ATM ในแบบระยะไกล (Remote Desktop ) โดยใช้โทรศัพท์มือถือซึ่งเชื่อมต่ออยู่ภายในตู้ ATM มีหลายวิธีในการเชื่อมต่อโทรศัพท์มือถือเข้ากับตู้ ATM วิธีที่ใช้กันโดยทั่วไปก็คือ การตั้งค่าที่เรียกว่า USB Tethering ซึ่งเป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบใช้ร่วมกันระหว่างโทรศัพท์และคอมพิวเตอร์ซึ่งกรณีนี้ก็คือ ตู้ ATM นั่นเอง
ผู้โจมตีจำเป็นที่จะต้องตั้งค่าโทรศัพท์อย่างถูกต้อง เชื่อมต่อโทรศัพท์เข้ากับ ATM และติดตั้ง Ploutus ไว้บนเครื่อง ATM หลังจากที่ดำเนินการตามขั้นตอนเหล่านี้แล้ว ก็จะมีการเชื่อมต่อแบบสองทางอย่างสมบูรณ์ และโทรศัพท์ก็จะพร้อมใช้งาน
เนื่องจากโทรศัพท์ถูกเชื่อมต่อกับ ATM ผ่านทางพอร์ต USB ดังนั้นโทรศัพท์จึงใช้พลังงานจากการเชื่อมต่อเพื่อชาร์จแบตเตอรี่ของโทรศัพท์ ด้วยเหตุนี้ โทรศัพท์จะมีพลังงานใช้อย่างต่อเนื่อง
ส่งข้อความ SMS ไปยัง ATM
หลังจากที่โทรศัพท์มือถือเชื่อมต่อกับตู้ ATM และการตั้งค่าเสร็จสมบูรณ์ คนร้ายจะสามารถส่งข้อความคำสั่งเอสเอ็มเอสที่เฉพาะเจาะจงไปยังโทรศัพท์ที่เชื่อมต่ออยู่ภายในตู้ ATM เมื่อโทรศัพท์ตรวจพบข้อความใหม่ในรูปแบบที่คนร้ายกำหนด โทรศัพท์ก็จะแปลงข้อความเป็นแพ็คเก็ตข้อมูลเครือข่าย และจะส่งต่อไปยังเครื่อง ATM ผ่านการเชื่อมต่อสาย USB
ตัวตรวจสอบแพ็คเก็ตเครือข่าย (Network Packet Monitor – NPM) เป็นโมดูลของมัลแวร์ที่ทำหน้าที่เป็นตัวดักจับข้อมูลแพ็คเก็ต โดยจะตรวจสอบแทรฟฟิกเครือข่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในระบบ ATM ทันทีที่เครื่อง ATM ที่ติดเชื้อได้รับแพ็คเก็ต TCP หรือ UDP ที่ถูกต้องจากโทรศัพท์ NPM ก็จะวิเคราะห์แพ็คเก็ตนั้นและค้นหา "5449610000583686" ที่ค่าออฟเซ็ตที่เฉพาะเจาะจงภายในแพ็คเก็ต เพื่อประมวลผลแพ็คเก็ตข้อมูลทั้งหมด เมื่อตรวจพบหมายเลขที่เฉพาะเจาะจง NPM ก็จะอ่านเลข 16 หลักถัดไป และใช้ในการสร้างบรรทัดคำสั่งเพื่อรัน Ploutus ตัวอย่างของคำสั่งมีดังนี้:
ใน Ploutus เวอร์ชั่นก่อนหน้า คนร้ายหลักจะต้องเปิดเผยตัวเลขเหล่านี้ให้แก่ขบวนการลักลอบถอนเงิน ซึ่งเปิดโอกาสให้ขบวนการถอนเงินดังกล่าวสามารถฉ้อโกงคนร้ายได้หากทราบรหัสที่ใช้ในการเจาะระบบ แต่ใน Ploutus เวอร์ชั่นนี้ ขบวนการลักลอบถอนเงินไม่เห็นตัวเลข 16 หลัก จึงช่วยให้คนร้ายหลักสามารถควบคุมการถอนเงินสดได้อย่างเบ็ดเสร็จ รหัสที่ว่านี้จะใช้ได้นาน 24 ชั่วโมง
การใช้ข้อความ SMS เพื่อควบคุมเอทีเอ็มในแบบระยะไกลเป็นวิธีที่สะดวกกว่ามากสำหรับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพราะมีลักษณะต่อเนื่องและทำงานได้เกือบจะในทันที คนร้ายหลักจะทราบอย่างแน่ชัดว่าขบวนการลักลอบถอนเงินจะได้รับเงินเท่าไร และผู้ถอนเงินไม่จำเป็นต้องยืนเตร่อยู่แถวๆ ตู้ ATM เพื่อรอให้เงินสดออกมา คนร้ายและคนหยิบเงินสามารถทำงานประสานกันเพื่อให้เงินออกมาขณะที่คนหยิบเงินกำลังแสร้งทำเป็นกดเงินจากตู้หรือเดินผ่านตู้ ATM
อ่านต่อที่นี่ it24hrs.com
Long Hairstyles for Men
Best tablet pc or Surface2 visit here
Tech ETC Blog
วันอังคารที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2557
เตือนภัยธนาคาร ระวังคนร้ายแฮกตู้ ATM ปล่อยเงินสดออกมา
07:20
ไม่ระบุชื่อ
No comments
0 comments:
แสดงความคิดเห็น