ติดต่อโฆษณาได้ที่ Tel. 094-8659368 ; Email:Ruttanapatum@gmail.com;

วันอังคารที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2553

เปลี่ยน Notebook เป็น Hotspot แชร์ Wi-Fi ให้เครื่องอื่น

Technorati Tags:

เพื่อนยกขบวนมาทำงานที่ห้อง สายอินเทอร์เน็ตก็มีแค่เส้นเดียว โน้ตบุ๊คก็มีตั้ง 3-4 เครื่อง จะซื้อ Hub หรือ ตัวปล่อย Wi-Fi  ก็กลัวใช้งานไม่คุ้มเพราะเพื่อนไม่ได้มาทุกวัน ราคายังแพงอีกต่างหาก ไม่อยากซื้อเลย จะมีวิธีไหนช่วยเราได้ไหมเนี่ย

Connectify โปรแกรมที่จะทำให้ Notebook ของเราสามารถปล่อยสัญญาณ Wi-Fi ออกมาให้กับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นใช้งานหรือเป็น Hotspot เลยก็ว่าได้ แต่มีข้อแม้ว่าคอมพิวเตอร์ที่จะปล่อยสัญญาณต้องต่ออินเตอร์เน็ตอยู่ด้วย และการ์ด Wi-Fi ของเครื่องที่ใช้ในการแชร์ต้องรองรับการทำงานในระบบ AP-Mode
ซึ่งโน้ตบุ๊ครุ่นใหม่ๆ ก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้าหากเป็น Wi-Fi แบบ USB ส่วนใหญ่จะรองรับการทำงานประเภทนี้อยู่แล้ว ที่สำคัญโปรแกรมนี้เฉพาะ Windows 7 เท่านั้น  เมื่อเตรียมอุปกรณ์พร้อมแล้ว ก็ดาวน์โหลดโปรแกรมได้เลย

Connectify 1.2.0.14599
Icon_Download

การ์ด Wi-Fi ที่รองรับการทำงาน AP-Mode

-Atheros AR5005G/AR5005GS (as in the TP-Link TL-WN651G)

-Atheros AR5006EX (mini-PCIe card), driver version 8.0.0.171

-Atheros AR5007EG, driver version 8.0.0.238, also driver version 2.0.0.74 from Microsoft

-Atheros AR5009 802.11a/g/n WiFi Adapter, driver version 8.0.0.171

-Atheros AR9285, driver version 8.0.0.172

-Broadcom 4310-series (in many Dell laptops)

-Broadcom 4321AG/4322AG/43224AG WLAN Adapter, driver version 5.60.18.8 (here)

-D-link AirPlus G DWL-G510 Wireless PCI Adapter, driver version 3.0.1.0

-D-Link DWA-140 RangeBooster N USB Adapter, driver version 3.0.3.0

-Dell 1510 Wireless N adapter, Broadcom version,driver 5.60.18.8, (here)

-Intel 5100/5300, driver version 13.0.0.107

-Netgear 108 Mbit WG311T

-Ralink RT2870 (in many 802.11n USB dongles)

-Realtek RTL8187B (Win7 driver ver.1178)

-Realtek RTL8187SE (with the drivers that came with Windows 7)

-Realtek RTL8192u with 1370(Beta)

***ก่อนตั้งค่าห้ามลืมเด็ดขาดนะครับ***

ให้กดเปิด Wi-Fi ของเครื่องเราไว้ก่อนเลยครับ เมื่อถึงขั้นตอนที่โปรแกรมถามว่าเราจะแชร์ Internet ด้วยอะไร เราจะสามารถเลือกการ์ด Wi-Fi ของเราได้ ถ้าหากไม่ได้เปิด โปรแกรมก็จะมองไม่เห็นการ์ด Wi-Fi ของเรานั่นเอง

โปรแกรมจะอยู่ที่ Taskbar ด้านข้างล่างของหน้าจอ เปิดขึ้นมาแล้ว การตั้งค่าจะอยู่ในส่วนของ Setting มีเพียง 4 อย่างหลักๆ ที่เราต้องตั้งค่าเท่านั้น มีอะไรบ้างมาดูกันเลยครับ

Wi-Fi Name - ชื่อเครือข่ายของเราที่คนอื่นมองเห็น

Password - รหัสผ่านที่ใช้ในการล็อกอิน สามารถใช้เป็นตัวเลขและอักษรอังกฤษ ตั้งแต่ 8-63 ตัว

Internet - อินเตอร์เน็ตที่เราจะทำการแชร์ให้เครื่องอื่น ในภาพผมเลือกสาย Lan ที่ต่อมาจากโมเดม ADSL

Mode - เลือกโหมดที่ใช้ในการแชร์ ส่วนมากจะมีอยู่ 2 โหมด 

- Ad-Hoc, WEP - โหมดนี้จะมีความปลอดภัยเพราะจะต้องใส่ Password ในการเข้ามาใช้งาน

- Ad-Hoc, Open - เป็นโหมดเปิด ทุกคนสามารถเข้าใช้งานได้

หลังจากตั้งค่าทุกอย่างเสร็จแล้ว คลิก Start Hotspot ด้านล่างได้เลย

03_2

หลังจากกด Start Hotspot ให้สังเกตุที่ด้านบนในส่วนของ Status ถ้าหากมีคำว่า Running ตามด้วยชื่อของเครือข่ายเรานั้นก็หมายความว่าเครื่องกำลังทำการแชร์อินเทอร์เน็ตเรียบร้อยครับ ถ้าหากต้องการหยุดก็กดที่ Stop Hotspot ด้านล่างได้เลย
05

เพิ่มเติมอีกนิด ถ้าหากมีใครเข้ามาใช้ Wi-Fi ที่เราปล่อย จะมีชื่อของอุปกรณ์นั้นขึ้นในส่วนของ Connected Clients  เห็นมั๊ยครับว่าง่ายนิดเดียวเอง ถ้ามีปัญหาหรือสงสัยที่ขั้นตรงไหน สามารถถามได้เลยนะครับ

http://www.techxcite.com/2010/view/2791

0 comments:

แสดงความคิดเห็น

 
Design by Free WordPress Themes | Bloggerized by Lasantha - Premium Blogger Themes | Best WordPress Themes