คณะวิจัยร่วมจุฬาฯ-มทร.ธัญบุรีพัฒนาเส้นใยสังเคราะห์พิเศษสูตรทนไฟ ต้านการหลอมหยด หวังลดความสูญเสียทรัพย์สินจากอัคคีภัย พร้อมส่งต่อเทคโนโลยีสู่ภาคเอกชน รศ.กาวี ศรีกูลกิจ หัวหน้าศูนย์เครือข่ายวิจัยบูรณาการด้านสิ่งทอ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดเผยว่า ทีมวิจัยสามารถพัฒนาเม็ดสีเข้มข้น (Masterbatch) เพื่อนำไปผสมเพิ่มคุณสมบัติทนไฟให้กับเส้นใยสังเคราะห์ ซึ่งใช้ประกอบเป็นสิ่งทอและเฟอร์นิเจอร์ในอาคาร จึงลดความสูญเสียจากอัคคีภัย จากที่ผ่านมาเส้นใยสังเคราะห์หลักของไทยคือ โพลีโพรพิลีน หรือพีพี เมื่อนำไปผลิตเป็นสิ่งทอสำหรับใช้ในบ้าน จะมีจุดด้อยคือ ติดไฟง่าย กลายเป็นวัตถุไวไฟ โครงการวิจัยนี้เป็นความร่วมมือระหว่างสถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เริ่มจากการสังเคราะห์อนุภาคของแร่ดินเหนียว (Clay) และซิลิกา เพื่อทดสอบการช่วยกระจายตัวในเนื้อพลาสติก และยึดโครงสร้างของพลาสติก ไม่ให้หลอมหยดเมื่อถูกความร้อน เนื่องจากแร่ดินเหนียวและซิลิกามีคุณสมบัติที่ไม่สามารถเข้ากันได้กับพลาสติก จึงต้องนำไปดัดแปลงโดยการสกัดและทำให้อยู่ในรูปของเม็ดสีเข้มข้น เพื่อนำไปผสมกับเม็ดพลาสติกพีพีตามสูตรที่พัฒนาขึ้น จากนั้นจึงเข้าสู่กระบวนการปั่นเส้นใย และนำเส้นใยสังเคราะห์ที่ได้ไปทดสอบประสิทธิภาพตามมาตรฐาน ASTM ของสหรัฐ ผลที่ได้คือ เส้นใยสังเคราะห์สูตรผสมแร่ดินเหนียว มีคุณสมบัติหน่วงไฟได้ดี และไม่หลอมหยด เทียบได้กับมาตรฐานสิ่งทอไม่ติดไฟสำหรับใช้ภายในบ้านของต่างประเทศ ส่วนเส้นใยสังเคราะห์สูตรผสมซิลิกา แม้จะไม่ได้ผลดีเท่ากับแร่ดินเหนียว แต่กลับได้คุณสมบัติที่ดีสำหรับพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ใช้กลางแจ้ง เช่น หญ้าเทียม รวมถึงผลิตภัณฑ์ภายในรถยนต์ เมื่อประสบความสำเร็จจากการทดสอบเบื้องต้น ทีมวิจัยได้ขยายระดับการผลิตไปสู่ระดับอุตสาหกรรมนำร่อง (Pilot Scale) ในปริมาณ More >
Read more: http://www.news.rmutt.ac.th/
Category : ข่าวจากหนังสือพิมพ์,ข่าวประชาสัมพันธ์,
0 comments:
แสดงความคิดเห็น