วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
วันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
ไมโครซอฟท์ปล่อยแพลตฟอร์ม IE10 พรีวิวเวอร์ชั่น 2 ให้นักพัฒนา
13:51
NamoCSI
No comments
ไมโครซอฟท์ส่งแพลตฟอร์มพรีวิวของเวบบราวน์เซอร์รุ่นหน้า Internet Explorer 10 เวอร์ชั่นที่สองออกมาให้กับเหล่านักพัฒนา โดยสามารถดาวน์โหลดได้โดยตรงผ่านทาง Microsoft Download Center ซึ่งตัวเต็มจะมีการเปิดตัวจนกว่า Windows 8 จะถูกปล่อยออกมา ในขณะที่ Windows 7 เวอร์ชั่น 32-บิท และ 64-บิท จำเป็นที่จะต้องมีการติดตั้งใช้ IE10 ด้วย
โดย Internet Explorer 10 Platform Preview 2 นี้ จะเพิ่มการสนับสนุนสำหรับเทคโนโลยีใหม่ อาทิ CSS3 Positioned Floats, HTML5 Drag-drop, File Reader API, Media Query Listeners และสนับสนุน HTML5 Forms เริ่มต้น โดยจะมีการพัฒนาปรับปรุงในส่วนของประสิทธิภาพแอปพลิเคชั่นรูปแบบ HTML5 เช่นเดียวกับความสามารถในการส่งมอบประสิทธิภาพที่ดีขึ้นกับการใช้งานที่มีประสิทธิผลมากขึ้นของแบตเตอรี่ใหม่ที่มาพร้อมเทคโนโลยีอย่าง Web Workers with Channel Messaging, Async script support และอื่นๆ ทางด้านระบบรักษาความปลอดภัยของเวบแอปฯ จะได้รับการปรับปรุงใหม่ให้ดีขึ้นเช่นกัน โดย IE10 คาดกันว่าจะเป็นเวอร์ชั่นของ Internet Explorer ที่มาพร้อมระบบปฏิบัติการ Windows 8 ที่มีกำหนดส่งออกมาราวปี 2012 นี้ โดยจากประวัติของการส่ง IE ในเวอร์ชั่นก่อนๆ ไมโครซอฟท์ได้ทำการปล่อยแพลตฟอร์มแรกของพรีวิว IE9 ออกมาเมื่อประมาณวันที่ 16 มีนาคม ปี 2010 และจากนั้นก็มีการส่งเวอร์ชั่นเต็มออกมาในวันที่ 14 มีนาคม ปี 2011 ดังนั้น จึงทำให้พอสันนิษฐานกันได้ว่า IE10 น่าจะถูกส่งออกมาราวปี 2012 นั่นเอง โดยก่อนหน้านี้มีข่าวลือระบุ Windows 8 เวอร์ชั่น RTM จะออกมาในเดือนเมษายน ปี 2012 ซึ่งเท่ากับเป็นตัวพิสูจน์ช่วงเวลาได้เป็นอย่างดี โดยไมโครซอฟท์ได้ให้สัญญาว่า จะทำการส่งแพลตฟอร์มพรีวิวออกมาใหม่ประมาณทุกๆ 12 สัปดาห์ โดย IE10 พรีวิวตัวแรก ออกเมื่อวันที่ 12 เมษายนที่ผ่านมา หรือประมาณ 11 สัปดาห์ก่อนนั่นเอง
http://www.pantip.com/tech/newscols/news/300611i.shtml
โดย Internet Explorer 10 Platform Preview 2 นี้ จะเพิ่มการสนับสนุนสำหรับเทคโนโลยีใหม่ อาทิ CSS3 Positioned Floats, HTML5 Drag-drop, File Reader API, Media Query Listeners และสนับสนุน HTML5 Forms เริ่มต้น โดยจะมีการพัฒนาปรับปรุงในส่วนของประสิทธิภาพแอปพลิเคชั่นรูปแบบ HTML5 เช่นเดียวกับความสามารถในการส่งมอบประสิทธิภาพที่ดีขึ้นกับการใช้งานที่มีประสิทธิผลมากขึ้นของแบตเตอรี่ใหม่ที่มาพร้อมเทคโนโลยีอย่าง Web Workers with Channel Messaging, Async script support และอื่นๆ ทางด้านระบบรักษาความปลอดภัยของเวบแอปฯ จะได้รับการปรับปรุงใหม่ให้ดีขึ้นเช่นกัน โดย IE10 คาดกันว่าจะเป็นเวอร์ชั่นของ Internet Explorer ที่มาพร้อมระบบปฏิบัติการ Windows 8 ที่มีกำหนดส่งออกมาราวปี 2012 นี้ โดยจากประวัติของการส่ง IE ในเวอร์ชั่นก่อนๆ ไมโครซอฟท์ได้ทำการปล่อยแพลตฟอร์มแรกของพรีวิว IE9 ออกมาเมื่อประมาณวันที่ 16 มีนาคม ปี 2010 และจากนั้นก็มีการส่งเวอร์ชั่นเต็มออกมาในวันที่ 14 มีนาคม ปี 2011 ดังนั้น จึงทำให้พอสันนิษฐานกันได้ว่า IE10 น่าจะถูกส่งออกมาราวปี 2012 นั่นเอง โดยก่อนหน้านี้มีข่าวลือระบุ Windows 8 เวอร์ชั่น RTM จะออกมาในเดือนเมษายน ปี 2012 ซึ่งเท่ากับเป็นตัวพิสูจน์ช่วงเวลาได้เป็นอย่างดี โดยไมโครซอฟท์ได้ให้สัญญาว่า จะทำการส่งแพลตฟอร์มพรีวิวออกมาใหม่ประมาณทุกๆ 12 สัปดาห์ โดย IE10 พรีวิวตัวแรก ออกเมื่อวันที่ 12 เมษายนที่ผ่านมา หรือประมาณ 11 สัปดาห์ก่อนนั่นเอง
http://www.pantip.com/tech/newscols/news/300611i.shtml
Googleส่ง Google+ รุกฆาตเฟซบุ๊ก
09:53
NamoCSI
No comments
Googleเปิดไพ่สำคัญเขย่าตลาดเครือข่ายสังคมอีกครั้ง โชว์บริการใหม่ในชื่อ"Googleพลัส (Google+)"ให้ผู้ใช้แบ่งปันภาพถ่าย ข้อความ แสดงความคิดเห็น รวมถึงข้อมูลพิกัดบนแผนที่ได้เหมือนเฟซบุ๊ก แต่ต่างที่การคิดใหม่ทำใหม่เรื่องการสื่อสารในกลุ่มเพื่อน และการอำนวยความสะดวกให้ชาวGoogleไม่ต้องออกจากบริการที่ใช้อยู่ ท่ามกลางนักวิเคราะห์ที่วิจารณ์ว่า สิ่งที่Googleทำเป็นเพียงการนำเนื้อหาบางส่วนของเฟซบุ๊กมาออกแบบใหม่ และเพิ่มความสามารถบางบริการลงไปเท่านั้น
Googleให้รายละเอียดบริการGoogleพลัสว่าเป็น"โครงการ"ไม่ใช่บริการ โดยGoogleจะเปิดให้บริการผ่านเว็บไซต์ใหม่คือ plus.google.com ซึ่งจะเป็นพื้นที่สำหรับการแชร์ข้อมูลกับกลุ่มเพื่อนเท่านั้น จุดนี้Googleออกแบบเป็นแอปพลิเคชันเพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงบริการได้จากสมาร์ทโฟน เบื้องต้นแอปพลิเคชันดังกล่าวยังรองรับเพียงระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์เท่านั้น อนาคตจะรองรับไอโฟนและฟีเจอร์โฟนในรูปแบบเว็บไซต์สำหรับแสดงผลบนอุปกรณ์พกพาต่อไป
ความเป็นโครงการหรือโปรเจ็คทำให้Googleพลัสยังไม่เปิดใช้บริการในวงกว้าง แต่จะใช้วิธีเชิญผู้ใช้บริการจีเมลบางส่วนให้เข้าร่วมทดสอบบริการหลักในGoogleพลัส ซึ่งจะประกอบด้วย Circles แวดวงสำหรับการแบ่งปันเรื่องราวกับบุคคลแต่ละกลุ่ม Hangouts บริการพูดคุยผ่านระบบวีดิโอคอนเฟอเรนซ์ Huddle ระบบเพื่อการสนทนาพร้อมกันทั้งกลุ่ม และ Sparks ระบบแบ่งปันวิดีโอและบทความ
สิ่งที่Googleทำใน Circles คือการจัดกลุ่มการสื่อสารเฉพาะกลุ่มได้ตามใจต้องการ จุดนี้Googleยกตัวอย่างว่าหากผู้ใช้ต้องการนัดเพื่อนไปเที่ยวคืนวันเสาร์ ก็สามารถเลือกใครก็ได้ที่ไม่ใช่ผู้ปกครอง ให้มาเข้ากลุ่มเพื่อนัดหมายโดยที่ไม่ต้องให้ใครรู้ โดยผู้ใช้สามารถตัดสินใจได้ว่าจะแบ่งปันข้อมูลแก่แวดวงใดบ้างได้ตามชอบ จุดนี้ทำให้Googleพลัสมีความแตกต่างจากเครือข่ายสังคมอื่นชัดเจนขึ้น นั่นคือเน้นการแบ่งปันข้อมูลเฉพาะกลุ่มเพื่อน ผิดจากทวิตเตอร์ซึ่งเน้นแบ่งปันข้อมูลแบบสาธารณะ และเฟซบุ๊กที่เน้นการส่งข้อความให้เพื่อนทุกคน เว้นแต่จะเลือกให้ใครเห็นข้อความบ้าง
สำหรับ Hangouts และ Huddle นั้นมีความเกี่ยวข้องกัน โดย Hangouts จะเป็นการสื่อสารด้วยวิดีโอแชต ขณะที่ Huddle เป็นการสนทนาด้วยข้อความ
Hangouts เป็นห้องสนทนาวิดีโอแชตในกลุ่มเพื่อน ซึ่งสามารถสนทนาพร้อมกันได้สูงสุด 10 คน ออกแบบมาให้ผู้ใช้สามารถค้นหาเพื่อนที่ออนไลน์แล้วว่างงาน ให้สามารถคุยฆ่าเวลาได้ใน Google+ คาดว่าเป็นการดึงเทคโนโลยีในบริการ Google Talk มาปัดฝุ่นอีกครั้ง ขณะที่ Huddles เปรียบเหมือนบริการแชตด้วยข้อความลักษณะเดียวกับระบบ BBM ในแบล็กเบอรี่ ผู้ใช้จะสามารถสนทนาแบบกลุ่มได้ผ่านโทรศัพท์มือถือ โดยทั้งกลุ่มนั้นจะต้องเป็นผู้ใช้ Google+ ตามธรรมเนียม
คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
บางส่วนจากวิดีโอสาธิตการใช้งาน "Circles" แวดวงที่ผู้ใช้สามารถสร้างขึ้นด้วยการลากชื่อคนที่ต้องการ ไปวางไว้ที่วงกลมเดียวกัน เพื่อสื่อสารเฉพาะกลุ่มได้อย่างง่ายๆ
สำหรับ Sparks จะเป็นบริการที่ทำให้ผู้ใช้ใส่และรับข้อมูลที่ตัวเองสนใจตามหัวเรื่องที่ชื่นชอบได้ ไม่ว่าจะเป็นข่าว วิดีโอ หรือคอนเทนต์อย่างอื่น ซึ่งจะเชื่อมโยงกับบริการสนทนากลุ่มบนโทรศัพท์มือถือได้ จุดนี้จะทำให้ผู้ใช้ได้รับข้อมูลที่น่าสนใจจากกลุ่มคนอื่นที่ไม่ใช่เพื่อน ถือเป็นจุดต่างสำคัญที่เชื่อว่าเสิร์ชเอนจิ้นอย่างGoogleที่มีเครื่องมือการจัดดัชนีเว็บไซต์จะทำได้ดีกว่าเครือข่ายสังคมอื่นๆ
การเปิดตัวGoogleพลัสถือเป็นความพยายามครั้งล่าสุดในการทลวงตลาดเครือข่ายสังคม หลังจากGoogleเริ่มก้าวแรกด้วย Orkut บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ประสบความสำเร็จมากในกลุ่มประเทศนอกสหรัฐฯ ก่อนจะเริ่มเดือนเครื่องจริงจังด้วยบริการ Buzz ในปีที่ผ่านมา ซึ่งโชคร้ายว่าบริการทั้ง 2 ไม่สามารถเขย่าบัลลังก์เฟซบุ๊กที่ครองเบอร์ 1 ในโลกเครือข่ายสังคมขณะนี้ด้วยยอดผู้ใช้ที่จะแตะระดับ 600 ล้านคนในไม่ช้า
มีการวิเคราะห์สาเหตุที่ทำให้Googleต้องลงมาเล่นในตลาดเครือข่ายสังคม ว่าอาจเป็นเพราะความกังวลว่าGoogleจะสูญเสียรายได้ในตลาดโฆษณาออนไลน์ไป โดยเฉพาะการสำรวจล่าสุดที่พบว่าเฟซบุ๊กสามารถทำรายได้จากการโฆษณาออนไลน์สูงถึง 1,860 ล้านเหรียญสหรัฐฯในปี 2010 (ข้อมูลจาก eMarketer) คาดว่าปีนี้ (2011) เฟซบุ๊กจะสามารถทำรายได้ถึง 4,000 ล้านเหรียญแน่นอน ก่อจะเพิ่มเป็น 5,700 ล้านเหรียญในปีหน้า (2012)
พร้อมกับการเปิดGoogleพลัส Googleได้ปรับให้แถบเครื่องมือด้านบนสุดของเว็บไซต์Googleทุกแห่ง (Sandbar) เป็นสีดำ โดยเพิ่มลิงก์ "+You" หรือ "+คุณ" ในภาษาไทย ไว้ที่รายการแรกสุดของ Sandbar เพื่อให้ผู้ใช้เข้าสู่บริการGoogleพลัสได้ง่ายขึ้น
อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์บางรายเชื่อว่าGoogleจะไม่สามารถเปลี่ยนใจสาวกเฟซบุ๊กให้หันมาใช้Googleพลัสในเวลาอันสั้น เนื่องจากผู้ใช้เฟซบุ๊กส่วนใหญ่ยังผูกตัวเองเข้ากับสังคมเดิมที่ตัวเองคุ้นเคย แต่คาดว่าในอนาคต เฟซบุ๊กก็จะมีการปรับบริการใหม่เพื่อปิดช่องว่างไม่ให้Googleทลวงฐานลูกค้าได้ง่ายๆ
ขอบคุณ manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9540000079552
Googleให้รายละเอียดบริการGoogleพลัสว่าเป็น"โครงการ"ไม่ใช่บริการ โดยGoogleจะเปิดให้บริการผ่านเว็บไซต์ใหม่คือ plus.google.com ซึ่งจะเป็นพื้นที่สำหรับการแชร์ข้อมูลกับกลุ่มเพื่อนเท่านั้น จุดนี้Googleออกแบบเป็นแอปพลิเคชันเพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงบริการได้จากสมาร์ทโฟน เบื้องต้นแอปพลิเคชันดังกล่าวยังรองรับเพียงระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์เท่านั้น อนาคตจะรองรับไอโฟนและฟีเจอร์โฟนในรูปแบบเว็บไซต์สำหรับแสดงผลบนอุปกรณ์พกพาต่อไป
ความเป็นโครงการหรือโปรเจ็คทำให้Googleพลัสยังไม่เปิดใช้บริการในวงกว้าง แต่จะใช้วิธีเชิญผู้ใช้บริการจีเมลบางส่วนให้เข้าร่วมทดสอบบริการหลักในGoogleพลัส ซึ่งจะประกอบด้วย Circles แวดวงสำหรับการแบ่งปันเรื่องราวกับบุคคลแต่ละกลุ่ม Hangouts บริการพูดคุยผ่านระบบวีดิโอคอนเฟอเรนซ์ Huddle ระบบเพื่อการสนทนาพร้อมกันทั้งกลุ่ม และ Sparks ระบบแบ่งปันวิดีโอและบทความ
สิ่งที่Googleทำใน Circles คือการจัดกลุ่มการสื่อสารเฉพาะกลุ่มได้ตามใจต้องการ จุดนี้Googleยกตัวอย่างว่าหากผู้ใช้ต้องการนัดเพื่อนไปเที่ยวคืนวันเสาร์ ก็สามารถเลือกใครก็ได้ที่ไม่ใช่ผู้ปกครอง ให้มาเข้ากลุ่มเพื่อนัดหมายโดยที่ไม่ต้องให้ใครรู้ โดยผู้ใช้สามารถตัดสินใจได้ว่าจะแบ่งปันข้อมูลแก่แวดวงใดบ้างได้ตามชอบ จุดนี้ทำให้Googleพลัสมีความแตกต่างจากเครือข่ายสังคมอื่นชัดเจนขึ้น นั่นคือเน้นการแบ่งปันข้อมูลเฉพาะกลุ่มเพื่อน ผิดจากทวิตเตอร์ซึ่งเน้นแบ่งปันข้อมูลแบบสาธารณะ และเฟซบุ๊กที่เน้นการส่งข้อความให้เพื่อนทุกคน เว้นแต่จะเลือกให้ใครเห็นข้อความบ้าง
สำหรับ Hangouts และ Huddle นั้นมีความเกี่ยวข้องกัน โดย Hangouts จะเป็นการสื่อสารด้วยวิดีโอแชต ขณะที่ Huddle เป็นการสนทนาด้วยข้อความ
Hangouts เป็นห้องสนทนาวิดีโอแชตในกลุ่มเพื่อน ซึ่งสามารถสนทนาพร้อมกันได้สูงสุด 10 คน ออกแบบมาให้ผู้ใช้สามารถค้นหาเพื่อนที่ออนไลน์แล้วว่างงาน ให้สามารถคุยฆ่าเวลาได้ใน Google+ คาดว่าเป็นการดึงเทคโนโลยีในบริการ Google Talk มาปัดฝุ่นอีกครั้ง ขณะที่ Huddles เปรียบเหมือนบริการแชตด้วยข้อความลักษณะเดียวกับระบบ BBM ในแบล็กเบอรี่ ผู้ใช้จะสามารถสนทนาแบบกลุ่มได้ผ่านโทรศัพท์มือถือ โดยทั้งกลุ่มนั้นจะต้องเป็นผู้ใช้ Google+ ตามธรรมเนียม
คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
บางส่วนจากวิดีโอสาธิตการใช้งาน "Circles" แวดวงที่ผู้ใช้สามารถสร้างขึ้นด้วยการลากชื่อคนที่ต้องการ ไปวางไว้ที่วงกลมเดียวกัน เพื่อสื่อสารเฉพาะกลุ่มได้อย่างง่ายๆ
สำหรับ Sparks จะเป็นบริการที่ทำให้ผู้ใช้ใส่และรับข้อมูลที่ตัวเองสนใจตามหัวเรื่องที่ชื่นชอบได้ ไม่ว่าจะเป็นข่าว วิดีโอ หรือคอนเทนต์อย่างอื่น ซึ่งจะเชื่อมโยงกับบริการสนทนากลุ่มบนโทรศัพท์มือถือได้ จุดนี้จะทำให้ผู้ใช้ได้รับข้อมูลที่น่าสนใจจากกลุ่มคนอื่นที่ไม่ใช่เพื่อน ถือเป็นจุดต่างสำคัญที่เชื่อว่าเสิร์ชเอนจิ้นอย่างGoogleที่มีเครื่องมือการจัดดัชนีเว็บไซต์จะทำได้ดีกว่าเครือข่ายสังคมอื่นๆ
การเปิดตัวGoogleพลัสถือเป็นความพยายามครั้งล่าสุดในการทลวงตลาดเครือข่ายสังคม หลังจากGoogleเริ่มก้าวแรกด้วย Orkut บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ประสบความสำเร็จมากในกลุ่มประเทศนอกสหรัฐฯ ก่อนจะเริ่มเดือนเครื่องจริงจังด้วยบริการ Buzz ในปีที่ผ่านมา ซึ่งโชคร้ายว่าบริการทั้ง 2 ไม่สามารถเขย่าบัลลังก์เฟซบุ๊กที่ครองเบอร์ 1 ในโลกเครือข่ายสังคมขณะนี้ด้วยยอดผู้ใช้ที่จะแตะระดับ 600 ล้านคนในไม่ช้า
มีการวิเคราะห์สาเหตุที่ทำให้Googleต้องลงมาเล่นในตลาดเครือข่ายสังคม ว่าอาจเป็นเพราะความกังวลว่าGoogleจะสูญเสียรายได้ในตลาดโฆษณาออนไลน์ไป โดยเฉพาะการสำรวจล่าสุดที่พบว่าเฟซบุ๊กสามารถทำรายได้จากการโฆษณาออนไลน์สูงถึง 1,860 ล้านเหรียญสหรัฐฯในปี 2010 (ข้อมูลจาก eMarketer) คาดว่าปีนี้ (2011) เฟซบุ๊กจะสามารถทำรายได้ถึง 4,000 ล้านเหรียญแน่นอน ก่อจะเพิ่มเป็น 5,700 ล้านเหรียญในปีหน้า (2012)
พร้อมกับการเปิดGoogleพลัส Googleได้ปรับให้แถบเครื่องมือด้านบนสุดของเว็บไซต์Googleทุกแห่ง (Sandbar) เป็นสีดำ โดยเพิ่มลิงก์ "+You" หรือ "+คุณ" ในภาษาไทย ไว้ที่รายการแรกสุดของ Sandbar เพื่อให้ผู้ใช้เข้าสู่บริการGoogleพลัสได้ง่ายขึ้น
อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์บางรายเชื่อว่าGoogleจะไม่สามารถเปลี่ยนใจสาวกเฟซบุ๊กให้หันมาใช้Googleพลัสในเวลาอันสั้น เนื่องจากผู้ใช้เฟซบุ๊กส่วนใหญ่ยังผูกตัวเองเข้ากับสังคมเดิมที่ตัวเองคุ้นเคย แต่คาดว่าในอนาคต เฟซบุ๊กก็จะมีการปรับบริการใหม่เพื่อปิดช่องว่างไม่ให้Googleทลวงฐานลูกค้าได้ง่ายๆ
ขอบคุณ manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9540000079552